Contact Address

เจ้าของและผู้จัดพิมพ์
สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
Remote Sensing and GIS Association of Thailand
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ศูนย์ราชการฯ (อาคารรัฐประศาสนภักดี)
120 หมู่ 3 ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0 2141 4451 โทรสาร 0 2143 9582

ที่อยู่สำหรับการติดต่อ

สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
+66-44-22-4652 suwit@sut.ac.th

การส่งบทความ
Paper Submission

คำแนะสำหรับการนำส่งบทความ

วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารส นเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย (RESGAT Journal) ยินดีรับพิจารณาบทความ 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัยที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน (original research article) และบทความทั่วไป (general article)

การเตรียมบทความต้นฉบับ (Preparation of Manuscripts)

บทความต้นฉบับต้องจัดเตรียมและพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft word กับขนาดกระดาษ A4 มี 1 คอลัมน์ ด้วยตัวหนังสือแบบ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 สำหรับบทความที่ใช้ภาษาไทย และตัวหนังสือแบบ Palatino Linotype ขนาดตัวอักษร 12 หรับบทความที่ใช้ภาษาอังกฤษที่มีความยาวของต้นฉบับไม่ควรเกิน 25 หน้า (ไม่นับรวมเอกสารอ้างอิง) และมีระยะห่างระหว่างบรรทัด (line spacing) เท่ากับ 1.5 มีขนาดของขอบเอกสารด้านซ้ายและขวาเท่ากับ 2.5 เซนติเมตร และด้านบนและล่างเท่ากับ 2 เซนติเมตร

บทความต้นฉบับที่นำส่งไม่ตรงตามรูปแบบที่กำหนดจะถูกส่งกลับให้ผู้เขียนปรับแก้ให้ถูกต้องและนำส่งอีกครั้ง องค์ประกอบของบทความจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อเรื่องควรจะกระชับและบ่งบอกถึงสาระสำคัญของผลงานวิจัยและไม่ควรมีข้อความยาวมากจนเกิน ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับคำสำคัญทั้งหมด ด้วยตัวหนังสือแบบ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 และตัวอักษรตัวหนา สำหรับชื่อภาษาไทยและตัวหนังสือแบบ Palatino Linotype ขนาดตัวอักษร 12 และตัวอักษรตัวหนา สำหรับชื่อภาษาอังกฤษเช่น Wildfire Susceptibility Mapping in Bhutan using Geoinformatics Technology

ชื่อผู้แต่ง (Author(s) ให้ระบุชื่อผู้แต่งที่ประกอบด้วยชื่อและนามสกุลให้ครบทุกคน ด้วยตัวหนังสือแบบ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 สำหรับบทความที่ใช้ภาษาไทย และตัวหนังสือแบบ Palatino Linotype ขนาดตัวอักษร 12 หรับบทความที่ใช้ภาษาอังกฤษ

สถานที่ทำงาน (Affiliation) ให้ระบุสถานที่ทำงานของผู้แต่งให้ครบทุกคนพร้อมกับ E-mail ด้วยตัวหนังสือแบบ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 12 ตัวเอียง สำหรับบทความที่ใช้ภาษาไทย และตัวหนังสือแบบ Palatino Linotype ขนาดตัวอักษร 11 ตัวเอียง สำหรับบทความที่ใช้ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ (Abstract) บทความวิจัยที่ใช้ภาษาไทยต้องเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อควรนำเสนอการค้นพบในสาระสำคัญพร้อมกับข้อมูล บทคัดย่อที่ดีควรมีเพียงหนึ่งย่อหน้า บทคัดย่อจะไม่มีการนำเสนอข้อมูลรูปภาพ ตาราง หรือเอกสารอ้างอิง

คำสำคัญ (Keywords) บทความวิจัยที่ใช้ภาษาไทยต้องมีคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งบ่งชี้ถึงเนื้อหาสำคัญของการวิจัย มีจำนวนอย่างละไม่เกิน 6 คำ

โครงสร้างของบทความ (Text body) โครงสร้างของบทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย (1) บทนำ (Introduction) (2) วิธีการศึกษา (Methodology) (3) ผลการศึกษาและการอภิปรายผล (Results and Discussion) (4) สรุปผลการศึกษา (Conclusions) (5) กิตติกรรมประกาศ(Acknowledgements) และ (6) เอกสารอ้างอิง (References) ข้อมูลพื้นฐานของแต่ส่วนตามโครงสร้างของบทความ สรุปได้ดังนี้

บทนำ (Introduction) เป็นส่วนที่มีความสำคัญยิ่งของบทความสำหรับระบุถึงสภาพปัญหาและภูมิหลักที่สำคัญที่ต้องทำการวิจัย ในตอนท้ายของบทนำต้องระบุวัตถุประสงค์ (objective) ของการวิจัยที่ชัดเจน เนื้อหาในบทนำควรมีความกระชับและไม่ควรมีหัวข้อรอง (subheadings)

วิธีการศึกษา (Methodology) ควรมีรายละเอียดที่พอเพียงเพื่อให้ผู้อื่นสามารถทดลองซ้ำได้อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขั้นตอนการทำงานที่แสดงให้เห็นกระบวนทำงานเกี่ยวกับข้อมูลนำเข้า (input) การประมวล (process) และผลลัพธ์ (output) ที่ชัดเจน เทคนิคและวิธีการที่นำมาใช้ในการศึกษาจากผลงานวิจัยของผู้อื่นต้องมีการอ้างอิงตามมาตรฐานอย่างเหมาะสม

ผลการศึกษาและการอภิปรายผล (Results and Discussion) อาจรวมเข้าด้วยกันหรือแยกออกจากกัน เนื้อหาในส่วนนี้ควรนำเสนอผลการวิจัยหลักในลักษณะของรูปภาพ ตารางและคำอธิบายประกอบของผลการศึกษาโดยไม่จำเป็นต้องแปลตีความหมาย ผลการศึกษาโดยทั่วไปจะเป็นการพรรณนา ในส่วนของการอภิปรายผลควรอภิปรายผลลัพธ์การวิจัยและนำเสนอความหมายโดยนัย (implications) ที่สนับสนุนงานวิจัยของคุณ เนื้อหาในส่วนนี้จะประกอบด้วยการแปลตีความหมายผลลัพธ์ของการวิจัย

สรุปผลการศึกษา (Conclusions) ควรประกอบด้วยบทสรุปของผลลัพธ์การวิจัยหลักเพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจน สรุปผลการศึกษาไม่ควรมากเกินไปหรือซ้ำซ้อนแต่มีคุณค่าที่ไม่มีข้อโต้แย้งได้ว่างานวิจัยยังไม่แล้วเสร็จ สิ่งสำคัญต้องไม่นำเสนอความคิดใหม่ในการสรุปผลการศึกษา ข้อเสนอแนะที่เหมาะสมสามารถนำเสนอไว้ในตอนท้ายของการสรุปผลการศึกษา

นอกจากนี้ ตารางที่นำเสนอในผลการศึกษาไม่ควรตีเส้นกรอบทั้งหมด ยกเว้น เส้นขอบแนวนอนในส่วนชื่อของคอลัมน์และด้านล่าง รูปภาพแสดงในรูปแบบขาว-ดำและสีได้ตามความเหมาะสมและควรตรวจสอบดูรูปภาพว่ามีความชัดเจนและผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ ในขั้นตอนสุดของการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ผู้เขียนต้องนำส่งไฟล์รูปภาพที่บันทึกในรูปแบบไฟล์ *.TIFF หรือ *.JPG พร้อมนำส่งไฟล์ EXCEL ที่ใช้สร้างแผนภูมิต่าง ๆ แยกต่างหากให้กับ RESGAT Journal รูปภาพต้องมีความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi (จุดต่อนิ้ว) ตัวหนังสือที่ใช้ในรูปภาพควรจะสอดคล้องกับตัวหนังสือแบบเดียวกับในเนื้อหา

สำหรับหัวข้อในส่วนของวิธีการและผลการศึกษาและการอภิปรายผลไม่ควรมีมากกว่า 3  ระดับ หัวข้อหลักพิมพ์โดยใช้ตัวอักษรตัวหนา และหัวข้อรองพิมพ์โดยใช้ตัวอักษรตัวหนาและเอียง สำหรับหัวข้อระดับที่สามพิมพ์โดยใช้ตัวอักษรปกติและไม่เป็นตัวหนา

2. Methodology

2.1 Sub-heading

2.1.1 Sub-sub-heading

กิตติกรรมประกาศ(Acknowledgements) ควรประกอบด้วยรายชื่อบุคคลที่มีส่วนร่วมในผลงานวิจัยที่อธิบายไว้ในบทความแต่ไม่ได้ร่วมเขียนบทความ นอกจากนี้ กิตติกรรมประกาศควรรวมถึงผู้สนับสนุน/องค์การด้านเงินทุนการวิจัย

เอกสารอ้างอิง (Reference) ต้องอ้างอิงกับข้อความในบทความโดยใช้นามสกุลของผู้เขียนและปี วารสาร RESGAT ใช้วิธีการอ้างอิงด้วยชื่อผู้แต่ง-ปีพ.ศ. (author-date method) โดยนามสกุลของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์จะถูกแทรกลงในข้อความในตำแหน่งที่เหมาะสม หากมีผู้เขียนมากกว่าสองคน ให้ใช้คำว่า “et al." ตามหลังชื่อผู้เขียนคนแรก ตัวอย่าง (Frits, 1976; Pandey and Shukla, 2003; Kungsuwas et al., 1996) ถ้าชื่อของผู้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของประโยคจะใส่วงเล็บให้กับปี พ.ศ. เช่น "Frits (1976) ระบุว่า ..."

ในรายการของเอกสารอ้างอิง วารสาร RESGAT ใช้รูปแบบการอ้างอิงของ Vancouver style การอ้างอิงที่สมบูรณ์ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องรูปแบบและเครื่องหมายวรรคตอนอย่างเคร่งครัด พร้อมจัดเรียงลำดับตามตัวอักษรของนามสกุลของผู้เขียนคนแรก

ตัวอย่างการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลประเภทต่าง ๆ ในเอกสารอ้างอิง

Book

Tyree MT, Zimmermann MH. Xylem Structure and the Ascent of Sap. Heidelberg, Germany: Springer; 2002.

Chapter in a book

Kungsuwan A, Ittipong B, Chandrkrachang S. Preservative effect of chitosan on fish products. In: Steven WF, Rao MS, Chandrkachang S, editors. Chitin and Chitosan: Environmental and Friendly and Versatile Biomaterials. Bangkok: Asian Institute of Technology; 1996. p. 193-9.

Journal article

Muenmee S, Chiemchaisri W, Chiemchaisri C. Microbial consortium involving biological methane oxidation in relation to the biodegradation of waste plastics in solid waste disposal open dump site. International Biodeterioration and Biodegradation 2015;102:172-81.

Published in conference proceedings

Wiwattanakantang P, To-im J. Tourist satisfaction on sustainable tourism development, Amphawa floating market, Samut Songkhram, Thailand. Proceedings of the 1st Environment and Natural Resources International Conference; 2014 Nov 6-7; The Sukosol Hotel, Bangkok: Thailand; 2014.

Ph.D. thesis

Shrestha MK. Relative Ungulate Abundance in a Fragmented Landscape: Implications for Tiger Conservation [dissertation]. Saint Paul, University of Minnesota; 2004.

Orzel C. Wind and temperature: why doesn’t windy equal hot? [Internet]. 2010 [cited 2016 Jun 20]. Available from: https://scienceblogs.com/principles/2010/08/17/wind-and-temperature-why-doesn/.

 

ขั้นตอนสำหรับการนำส่งบทความ (Workflow for paper submission)

วารสาร RESGAT เป็นวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ คุณภาพบทความทางวิชาการ (peer-reviewed journal) และตีพิมพ์เผยแพร่บทความทุก ๆ 4เดือน (มกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม, และตุลาคม-ธันวาคม) ผู้เขียนสามารถนำส่งบทความวิจัยผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังบรรณาธิการ (suwit@sut.ac.th;suwit.ongsomwang@gmail.com)

บทความที่นำส่งต้องไม่เป็นบทความที่ได้มีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนหรือเป็นบทความทีอยู่ระหว่างการพิจารณาสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ (ยกเว้นบทความในประชุมวิชาการ) บทความวิจัยต้นฉบับทั้งหมดจะผ่านกระบวนการตรวจทานโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวจำนวนอย่างน้อย 2 คน แบบ double-blind peer-review

ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการตรวจทานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ บรรณาธิการและบรรณาธิการในแต่ละสาขาจะร่วมกันทำการตรวจสอบเนื้อหาของบทความว่าสอดคล้องกับขอบเขตของวารสาร มีคุณค่าและประโยชน์ทางวิชาการหรือไม่และทำการตัดสิน บรรณาธิการจะแจ้งผลการตัดสินจากกระบวนการคัดกรองเบื้องต้น (Prescreening process) ให้กับผู้เขียนทราบภายในเวลา ภายในเวลา 1 สัปดาห์

เมื่อบทความต้นฉบับผ่านการคัดกรองเบื้องต้น กระบวนการประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยสองราย โดยใช้กระบวนการประเมินคุณภาพบทความแบบ double-blind review ซึ่งชื่อของผู้ตรวจทานคุณภาพบทความ (Reviewer) และผู้เขียนจะถูกปกปิดตลอดทั้งกระบวนการตรวจทาน Workflow สำหรับการนำส่งบทความจนจบกระบวนการตีพิมพ์แบบออนไลน์แสดงไว้ในภาพที่ 1

 

ภาพที่ 1 Workflow for submission process through the publication of RESGAT Journal